กฎหมาย

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์




กฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือ

. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์  รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
  1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
               1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
               1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
               ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
    1) กระทรวง ทบวง กรม
                    2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
                    3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
                    4) บริษัทจำกัด


กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด

กฎหมายอาญา


หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป[แก้]

  1. กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
  2. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
  3. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
  4. กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
  5. ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประเภทของความผิด[แก้]

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ
  1. ความผิดในตัวเอง (ละตินmala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละตินmala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการเกิดความผิด[แก้]

กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ
  1. ความผิดโดยการกระทำ
  2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
  3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา[แก้]

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม